ค้นหา

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การใช้วิทยุสื่อสาร

พระบิดาวิทยุสื่อสารไทย



หลักการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม





หลักการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม

ปัจจุบันวิทยุคมนาคมมีบทบาทสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก การติดต่อสื่อสารโดยใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเป็นการติดต่อสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่ง่าย รวดเร็ว และประหยัด จึงมีความจำเป็นมากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามการสื่อสารทางวิทยุคมนาคมจะได้ผลสมบูรณ์สามารถอำนวยประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ต้องคำนึงถึงหลักการ ความถูกต้อง และเหมาะสมในการใช้งาน ผู้ที่จะใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตลอดจนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง


กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคม

พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498


มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้“เครื่องวิทยุคมนาคม” หมายความว่า เครื่องส่งวิทยุคมนาคม เครื่องรับวิทยุคมนาคม หรือเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคม เครื่องรับหรือเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคมด้วยคลื่นแฮรตเซียนตามลักษณะหรือประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ถือว่าอุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องวิทยุคมนาคมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมด้วย

มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าส่งเครื่องวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ฯลฯ

มาตรา 11 ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ฯลฯ

มาตรา 23 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 11 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา 26 ผู้ใดจงใจกระทำให้เกิดการรบกวน หรือขัดขวางต่อการส่งหรือรับวิทยุคมนาคมมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำฯลฯ




บุคคลที่จะใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ต้องมีฐานะ


1) เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำของหน่วยงานหรือมาช่วยราชการ

2) เป็นบุคคลธรรมดาที่ได้รับอนุญาตให้ร่วมใช้ความถี่วิทยุ

3) เป็นบุคคลฯ ที่ได้รับอนุญาตให้ร่วมใช้ความถี่วิทยุฯ

4) ต้องไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมเป็นที่เสียหายหรือเป็นภัยต่อสังคมหรือความมั่นคงของชาติ

5) ต้องผ่านการฝึกอบรมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่

6) ต้องผ่านการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย เกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ. 2525

7) ต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยงาน ว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องวิทยุฯ


หลักปฏิบัติในการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่


1) ให้ใช้เฉพาะความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาต การใช้ความถี่วิทยุนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต เจ้าของความถี่วิทยุต้องอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอให้กรมไปรษณีย์โทรเลขอนุมัติ

2) การพกพาเครื่องวิทยุคมนาคมไปใช้งานนอกที่ตั้งหน่วยงาน จะต้องพกพาไปเพื่อการปฏิบัติราชการเท่านั้น และพกพาในลักษณะที่เหมาะสม

3) ผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมต้องมีบัตรประชาชนตัวผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และบัตรประจำเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับแสดงต่อเจ้าพนักงานเมื่อถูกตรวจค้นในกรณีเครื่องวิทยุคมนาคมส่วนตัว ผู้ใช้จะต้องแสดงใบอนุญาตต่อ เจ้าพนักงานเมื่อถูกตรวจค้น


มารยาทและข้อห้ามการใช้วิทยุสื่อสาร


1. ไม่ติดต่อกับสถานีที่ใช้นามเรียกขานไม่ถูกต้อง

2. ไม่ส่งข่าวสารที่เกี่ยวกับข่าวทางธุรกิจการค้า

3. ไม่ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ หรือหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร

4. ไม่แสดงอารมณ์โกรธในการติดต่อสื่อสาร

5. ห้ามการรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง

6. ไม่ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง และการโฆษณาทุกประเภท

7. ให้โอกาสสถานีที่มีข่าวสำคัญ เร่งด่วน ข่าวฉุกเฉิน ส่งข่าวก่อน

8. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้เครื่องวิทยุคมนาคม

9. ห้ามติดต่อสื่อสารในขณะมึนเมาสุราหรือควบคุมสติไม่ได้

10. ในกรณีที่มีเรื่องเร่งด่วนต้องการส่งแทรกหรือขัดจังหวะการส่งข่าวควรรอจังหวะที่คู่สถานีจบข้อความที่สำคัญก่อนแล้วจึงส่ง


ว.แดง คือวิทยุย่านความถี่ประชาชน 245เมกฯ(CB) ใครจะใช้ก็ได้ คอลซายตั้งเอง ซื้อเครื่องที่ออกใบอนุณาตได้ก็ไม่ผิด กม. ครับ(บ้านเราบังคับให้ใช้สีแดง เพื่อให้รู้ว่าเป็น ซี.บี.245) เลือกพูดเฉพาะในกลุ่มก็ได้ไม่ผิดกติกา
ว.ดำ คือวิทยุสื่อสาร ทำมาขายหลายย่าน 118-180 เมกฯ ,222 เมกฯ ,420-480 เมกฯ ,1200-1300 เมกฯ , ฯลฯ บางรุ่นรวม 2-3 ย่าน ไว้ในเครื่องเดียว VR (Volunteer Radio) คือกลุ่มนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคม จราจร ดับเพลิง ตำรวจบ้าน บางกลุ่มจะรวมเข้ากับมูลนิธิในจังหวัดเพื่องานสาธารณะ ตอนสึนามิ กลุ่มนี้ให้ความช่วยเหลือได้ดีมากครับ และ เพื่อให้การสื่อสารสะดวกจึงมีใช้ทั้งเครื่องดำ และแดง ความถี่ก็หลากหลายช่องอย่าง ช่องมูลนิธิ หรือใช้ร่วมข่ายกับสน. บางท่านก็สอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่น(Amateur Radio)ทำให้ใช้ 144-146 เมกฯได้ด้วย เนื่องจากใช้ความถี่หลากหลาย กลุ่มนี้จึงมีความรู้ด้านสื่อสารมากๆๆๆด้วยครับ

ชนิดและข้อมูลเกี่ยวกับวิทยุสือสาร
1. ชนิดของวิทยุสื่อสาร ก่อนอื่นเลยท่านต้องเลือกเอาว่าต้องการวิทยุแบบมือถือ (Handy) หรือวิทยุในรถยนต์ (Mobile)์ ส่วนใหญ่แล้วนักวิทยุที่มีเครื่องวิทยุเครื่องแรกในชีวิตก็จะเลือกแบบมือถือครับ เพราะพกพาไปไหนก็ได้ ราคาก็ถูกกว่า เมื่อมีแบบมือถือเบื่อแล้วอยากมีสัญญาณแรงๆก็จะเปลี่ยนไปใช้แบบรถยนต์แทน เครื่องมือถือจะมีกำลังส่งหรือวัตต์ (Watt) ์สูงสุดที่ 5 วัตต์ ส่วนเครื่องในรถยนต์ก็จะมีกำลังส่งสูงสุดที่ 10 วัตต์ เครื่องในรถยนต์นั้นจริงๆเค้าออกแบบมาเพื่อใช้ในรถยนต์นะครับ (ชื่อมาก็บอกอยู่แล้ว) แต่ถ้าเราไม่ต้องการใช้ในรถยนต์ก็สามารถนำมาใช้ในบ้านได้ครับไม่ผิดกติกา
2. ราคา เมื่อท่านตัดสินใจจะเป็นเจ้าของเครื่องวิทยุสื่อสารแล้วคงจะต้องดูที่ราคาที่ท่านสามารถยอมรับได้ซะหน่อย การซื้อวิทยุช่วงที่ดีที่สุดคืองาน "HAM Sale" ครับ เพราะร้านที่จัดแสดงก็จะลดราคาเครื่องกันสนั่น แต่ช่วง 3-4 ปีนี้งาน Ham sale หายไปเลยครับ อาจจะต้องรอเศรษฐกิจดีขึ้นก่อนก็ได้ แต่บางครั้งก็พบงาน Ham sale ได้ตามที่มีการ Eye Ball ของนักวิทยุของต่างจังหวัดครับ แต่ก็มีบางร้านเค้าจัดเองก็มีครับ ก็ต้องติดตามข่าวสารกัน ถ้าร้านไหนมีจัดรายการพิเศษก็แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์มาที่ Webmaster ได้ครับ
3. ยี่ห้อ เครื่องวิทยุสื่อสารที่กรมไปรษณีย์โทรเลขท่านอนุญาติให้ใช้ได้มีหลายยี่ห้อครับ ดูได้จากหน้า "เครื่องมือสื่อสาร" ของแต่ละความถี่จาก THHAM.COM ครับ ยี่ห้อหลักๆก็มี ICOM, YAESU, KENWOOD, STANDARD เป็นต้น ซึ่งยี่ห้อที่กล่าวมาจะเป็นยี่ห้อที่เค้าผลิตเครื่องมานานแล้ว ส่วนยี่ห้ออื่นก็อาจจะพึ่งผลิต หรือเป็นของประเทศอื่นไม่ใช้ของญี่ปุ่น ก็จะมีความนิยมน้อยลงไป แต่ราคาก็จะถูกลงไปด้วย
4. รุ่น อันนี้ก็ถือเป็นการตัดสินใจที่ยากมากเลยครับ เพราะเมื่อเราเลือกยี่ห้อได้แล้ว ในแต่ละยี่ห้อก็มีหลายรุ่นให้เลือกอีก ก็ขึ้นอยู่กับหน้าตา การออกแบบของเครื่องที่ถูกใจเราละครับ ถ้าเป็นรุ่นใหม่ก็จะมีในประกาศเช่นกันว่าอนุญาตให้ใช้รุ่นใด ส่วนรุ่นที่ไม่มีในประกาศเข้าใจว่าบริษัทผู้ผลิตได้เลิกการผลิตไปแล้ว แต่ก็สามารถหามือสองมาใช้ได้ครับ
5. อื่นๆ ส่วนอื่นๆก็มีเช่นการบริการหลังการขาย การซ่อมเครื่องโดยตัวแทน (Service Center) อะไหล่ของเครื่อง ราคาอะไหล่ ราคาอุปกรณ์เสริม เช่นแบตเตอรี่ ไมค์ แท่นชาร์ต เนื่องจากวิทยุสื่อสารจะไม่เหมือนโทรศัพท์มือถือซึ่งจะเปลี่ยนรุ่นใหม่ออกมาเร็วมาก และราคาจะลดลงรวดเร็ว แต่วิทยุสื่อสารบางยี่ห้อปล่อยว่างไว้เกือบ 4-5 ปีถึงจะออกรุ่นใหม่เพราะฉะนั้นเราจะต้องได้ใช้เครื่องอีกนาน บางทีก็ซ่อมแล้วซ่อมอีก เครื่องจะไม่ค่อยเชยเร็ว ก็ควรจะพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อนะครับ

เมื่อพอจะตัดสินใจในระดับหนึ่งแล้วว่ามียี่ห้อใดรุ่นใดที่เราชอบบ้าง โดยดูจากลักษณะภายนอก ลองจับถือดู หรือลองกดปุ่มเล่นก่อนก็ได้ ต่อไปเราก็มารู้จักวิธีการดู Specification หรือ สเป็ค ของเครื่องกัน
1.ความถี่ (Frequency) : ดูว่าเครื่องสามารถรับ และส่งในช่วงความถี่ที่เราจะต้องใช้งานได้หรือไม่ บางเครื่องไม่สามารถปรับความถี่ให้เล็กลง เช่น 12.5 kHz ซึ่งปัจจุบันความถี่ของนักวิทยุสมัครเล่นจะมีระยะห่างเท่านี้
2. กำลังส่ง (Output Power) : ควรจะดูว่าใช้แรงดัน (V) และกระแส (A) ที่เท่าใดจึงจะได้กำลังส่งสูงสุด ซึ่งเครื่องมือถือก็จะไม่เกิน 5 วัตต์ ส่วนเคลื่อนที่หรือประจำที่ก็ 10 วัตต์ ที่สำคัญคือมือถือครับ ว่าเราจะใช้แพ็คถ่านรุ่นใด จะได้กำลังส่งสูงสุด บางแพ็คจะให้กระแสสูงทำให้เราสามารถเปิดเครื่องใช้งานได้นาน แต่กำลังส่งไม่ถึง 5 วัตต์ อันนี้จะเหมาะกับผู้ที่ติดต่อกับศูนย์เป็นประจำ เพราะศูนย์ควบคุมจะใช้เสาสูงเราก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้กำลังส่งมาก แต่ถ้าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นซึ่งติดต่อกันเองมากกว่าก็พิจารณาดูครับ
3. ความไวในการรับ (Sensitivity) : จะบอกเป็นค่าแรงดัน (V) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น uV ถ้าตัวเลขนี้ของรุ่นใดมีค่าน้อยกว่าแสดงว่ามีความไวในการรับดี กว่ารุ่นที่มีตัวเลขมาก แต่บางครั้งรุ่นที่มีความไวในการรับดีก็อาจจะไม่ดีเสมอไป เพราะจะรับสัญญาณรบกวนมาด้วย ยิ่งถ้าการกรองความถี่ที่ไม่ต้องการของเครื่องไม่ดีแล้วละก็ทำให้เกิดการรับสัญญาณรบกวนมากขึ้น
4. ขนาด : ขนาดความกว้าง, ยาว, สูง ลองเปรียบเทียบกันดู รวมถึงน้ำหนักด้วย

ส่วนที่เหลือก็สอบถามกับผู้ที่ใช้รุ่นนั้นๆดูนะ

รหัสวิทยุสื่อสาร ชมรมผู้เขียนบล็อก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น