ค้นหา

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553












การท่องเที่ยวมีมากมายหลายแบบ อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกเที่ยวแบบไหน แบบสืบสานวัฒนธรรม หรือจะแบบพักผ่อนหย่อนใจอย่างทะเล ชมความงาม แต่มีการท่องเที่ยวแบบที่หลายคนชอบนั่นคือการเดินป่า หรือ Trekking หรือที่เรารู้จักแบบ แอดเวนเจอร์ (แบบผจญภัย) หลายคนค้นพบกับแหล่งธรรมชาติของป่าเขา การเดินป่า ไม่ได้หมายถึงการต้องไปลำบากหรือทรมานตัวเอง แต่เป็นการสัมผัสธรรมชาติที่เข้าถึงที่สุด เพราะคุณจะรู้จักกับมันด้วยตัวคุณเอง
ปัจจุบันมีหลายสถานที่มากมายในประเทศไทย ที่มีกิจกรรม ทัวร์เดินป่า หรือจะไปศึกษากันเอง แต่สำหรับวันนี้ถือกฤษ์เปิดตัวขอเป็นความหมายและการเตรียมตัวในการเดินป่า กันก่อน เพราะการเดินป่า ต้องใช้ความอดทนและความรู้พอสมควร

Trekking คือ การเดินท่องเที่ยว เข้าป่าเขาและพื้นที่ชนบทที่รถเข้าไม่ถึง Trekking มักจะใช้สำหรับการเดินทางที่ใช้เวลานานหลายๆ วัน มีการเดินขึ้นเขาและลงเขาในระยะทางที่ไกลๆ

คราวนี้ก็มาพิจารณาดูในเรื่องการเตรียมตัวเดินป่ากันหน่อยว่า จะต้องทำอะไร มีอะไรที่คุณควรจะพกพานำไปกันบ้างในเบื้องต้นคือ การสอบถามข้อมูลการเดินทางกับทางอุทยานแห่งชาติให้มากที่สุด ทั้งสภาพเส้นทาง สภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ แล้ววางแผนเส้นทางและระยะเวลาที่ใช้เดินและจุดหมายของแต่ละวัน พร้อมทั้งนัดหมายกับทางอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ทางอุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเจ้าหน้าที่นำทางไว้ล่วงหน้า สิ่งที่ต้องเตรียมต่อไปคือ สภาพร่างกาย ผู้จะเดินป่าควรมีร่างการแข็งแรงสมบูรณ์ และจิตใจที่พร้อมจะฝ่าฟันอุปสรรค ที่อาจพบตลอดการเดินทาง



การเตรียมของใช้เดินป่า
การเตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับการเดินป่ามีหลายอย่าง ได้แก่
- เสื้อผ้า ควรเป็นเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่แห้งง่ายและสวมใส่สบายเตรียมไว้ประมาณ 3 ชุด ชุดหนึ่งใส่ช่วงกลางวัน ชุดหนึ่งสำหรับใส่นอน และชุดสุดท้ายสำหรับใส่เดินทางกลับ เสิ้อกันหนาวหรือ เสื้อกันฝนก็ควรเตรียมไปด้วยตามฤดูกาลและสภาพอากาศของพื้นที่นั้น
- รองเท้า ควรใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ ไม่ควรมีพื้นแข็งหรืออ่อนจนเกินไป และมีขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป และไม่มีน้ำหนักมากเกินไป และควรสวมถุงเท้าเพื่อป้องกันรองเท้ากัด
- หมวก เพื่อใช้บังแดดและป้องกันหนามเกี่ยวศรีษะขณะเดินลอดกิ่งไม้
- เป้สัมภาระ ควรมีขนาดเหมาะสมกับลำตัวของเจ้าของและจำนวนสัมภาระ โดยปกติเป้เมื่อใส่สัมภาระแล้วไม่ควรมีน้ำหนักเกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว หากเป้มีน้ำหนักมาก ควรใช้สายคาดเอวเพื่อถ่ายเทน้ำหนักส่วนหนึ่งจากที่บ่ามาให้ลำตัว บริเวณส่วนเอวช่วยรับน้ำหนักด้วย
- เต็นท์พักแรม ควรใช้ขนาดและจำนวนที่เหมาะสมกับจำนวนคน เปลสนามก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะเบาและกะทัดรัด แต่ที่ขาดไม่ได้คือ ผ้าพลาสติกสำหรับกางขึงเหนือเต็นท์ หรือเปลสนามเพื่อกันน้ำค้างและน้ำฝน
- อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไป เช่น ยาประจำตัว ถุงนอน ไฟฉาย มีดอเนกประสงค์ กระติกน้ำ ชุดเครื่องครัวสนาม ถุงขยะ ไฟแช็ก เชือกร่มยาว 2-3 ม. จำนวน 2-3 เส้น ฯลฯ
- เสบียง ควรเตรียมให้เกินไว้ประมาณ 2 มื้อ เผื่อเกิดเหตุให้ต้องอยู่ในป่านานกว่ากำหนด และควรเผื่อเสบียง สำหรับเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติที่ช่วยนำทางไว้บ้าง อย่างน้อยก็เป็นน้ำใจที่แบ่งปันให้แก่กัน
- ที่เหลือเช่น เข็มทิศ GPS แผนที่ trekking pole เตาแกส ตะเกียงแกส ชุดครัว backpack สเปรป้องกันตัว เครื่องกรองน้ำพกพา ฯลฯ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ หลายพื้นที่นั้นไม่อนุญาตให้ก่อไฟแล้วนะครับ

บรรยากาศการเดินป่าสู่แก่งยาว





4 ความคิดเห็น:

  1. ข้อมุลใช้ได้นายปัฐพงษ์ ใจตรง 50011712315

    ตอบลบ
  2. ทำได้ดีนะน่าสนใจดี ชอบเดินาทงหรอ
    นางสาวสุจิตรา พันสาย 50011712118

    ตอบลบ
  3. ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก

    ตอบลบ
  4. นายศักดา เศลาอนันต์ 50010520533 3SS

    ตอบลบ