ค้นหา

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การใช้วิทยุสื่อสาร

พระบิดาวิทยุสื่อสารไทย



หลักการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม





หลักการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม

ปัจจุบันวิทยุคมนาคมมีบทบาทสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ และชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก การติดต่อสื่อสารโดยใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเป็นการติดต่อสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่ง่าย รวดเร็ว และประหยัด จึงมีความจำเป็นมากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามการสื่อสารทางวิทยุคมนาคมจะได้ผลสมบูรณ์สามารถอำนวยประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ต้องคำนึงถึงหลักการ ความถูกต้อง และเหมาะสมในการใช้งาน ผู้ที่จะใช้เครื่องวิทยุคมนาคมเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตลอดจนกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง


กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคม

พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498


มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้“เครื่องวิทยุคมนาคม” หมายความว่า เครื่องส่งวิทยุคมนาคม เครื่องรับวิทยุคมนาคม หรือเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคม เครื่องรับหรือเครื่องรับและส่งวิทยุคมนาคมด้วยคลื่นแฮรตเซียนตามลักษณะหรือประเภทที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อประโยชน์ในการควบคุมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมให้ถือว่าอุปกรณ์ใด ๆ ของเครื่องวิทยุคมนาคมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมด้วย

มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า นำออก หรือค้าส่งเครื่องวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ฯลฯ

มาตรา 11 ห้ามมิให้ผู้ใดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต ฯลฯ

มาตรา 23 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 มาตรา 11 มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

มาตรา 26 ผู้ใดจงใจกระทำให้เกิดการรบกวน หรือขัดขวางต่อการส่งหรือรับวิทยุคมนาคมมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินห้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำฯลฯ




บุคคลที่จะใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ต้องมีฐานะ


1) เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำของหน่วยงานหรือมาช่วยราชการ

2) เป็นบุคคลธรรมดาที่ได้รับอนุญาตให้ร่วมใช้ความถี่วิทยุ

3) เป็นบุคคลฯ ที่ได้รับอนุญาตให้ร่วมใช้ความถี่วิทยุฯ

4) ต้องไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมเป็นที่เสียหายหรือเป็นภัยต่อสังคมหรือความมั่นคงของชาติ

5) ต้องผ่านการฝึกอบรมการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่

6) ต้องผ่านการฝึกอบรมการรักษาความปลอดภัย เกี่ยวกับการสื่อสาร พ.ศ. 2525

7) ต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าหน่วยงาน ว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องวิทยุฯ


หลักปฏิบัติในการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่


1) ให้ใช้เฉพาะความถี่วิทยุที่ได้รับอนุญาต การใช้ความถี่วิทยุนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต เจ้าของความถี่วิทยุต้องอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรและเสนอให้กรมไปรษณีย์โทรเลขอนุมัติ

2) การพกพาเครื่องวิทยุคมนาคมไปใช้งานนอกที่ตั้งหน่วยงาน จะต้องพกพาไปเพื่อการปฏิบัติราชการเท่านั้น และพกพาในลักษณะที่เหมาะสม

3) ผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมต้องมีบัตรประชาชนตัวผู้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และบัตรประจำเครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับแสดงต่อเจ้าพนักงานเมื่อถูกตรวจค้นในกรณีเครื่องวิทยุคมนาคมส่วนตัว ผู้ใช้จะต้องแสดงใบอนุญาตต่อ เจ้าพนักงานเมื่อถูกตรวจค้น


มารยาทและข้อห้ามการใช้วิทยุสื่อสาร


1. ไม่ติดต่อกับสถานีที่ใช้นามเรียกขานไม่ถูกต้อง

2. ไม่ส่งข่าวสารที่เกี่ยวกับข่าวทางธุรกิจการค้า

3. ไม่ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ หรือหยาบคายในการติดต่อสื่อสาร

4. ไม่แสดงอารมณ์โกรธในการติดต่อสื่อสาร

5. ห้ามการรับส่งข่าวสารอันมีเนื้อหาละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง

6. ไม่ส่งเสียงดนตรี รายการบันเทิง และการโฆษณาทุกประเภท

7. ให้โอกาสสถานีที่มีข่าวสำคัญ เร่งด่วน ข่าวฉุกเฉิน ส่งข่าวก่อน

8. ยินยอมให้ผู้อื่นใช้เครื่องวิทยุคมนาคม

9. ห้ามติดต่อสื่อสารในขณะมึนเมาสุราหรือควบคุมสติไม่ได้

10. ในกรณีที่มีเรื่องเร่งด่วนต้องการส่งแทรกหรือขัดจังหวะการส่งข่าวควรรอจังหวะที่คู่สถานีจบข้อความที่สำคัญก่อนแล้วจึงส่ง


ว.แดง คือวิทยุย่านความถี่ประชาชน 245เมกฯ(CB) ใครจะใช้ก็ได้ คอลซายตั้งเอง ซื้อเครื่องที่ออกใบอนุณาตได้ก็ไม่ผิด กม. ครับ(บ้านเราบังคับให้ใช้สีแดง เพื่อให้รู้ว่าเป็น ซี.บี.245) เลือกพูดเฉพาะในกลุ่มก็ได้ไม่ผิดกติกา
ว.ดำ คือวิทยุสื่อสาร ทำมาขายหลายย่าน 118-180 เมกฯ ,222 เมกฯ ,420-480 เมกฯ ,1200-1300 เมกฯ , ฯลฯ บางรุ่นรวม 2-3 ย่าน ไว้ในเครื่องเดียว VR (Volunteer Radio) คือกลุ่มนักวิทยุอาสาสมัคร ช่วยเหลือสังคม จราจร ดับเพลิง ตำรวจบ้าน บางกลุ่มจะรวมเข้ากับมูลนิธิในจังหวัดเพื่องานสาธารณะ ตอนสึนามิ กลุ่มนี้ให้ความช่วยเหลือได้ดีมากครับ และ เพื่อให้การสื่อสารสะดวกจึงมีใช้ทั้งเครื่องดำ และแดง ความถี่ก็หลากหลายช่องอย่าง ช่องมูลนิธิ หรือใช้ร่วมข่ายกับสน. บางท่านก็สอบเป็นนักวิทยุสมัครเล่น(Amateur Radio)ทำให้ใช้ 144-146 เมกฯได้ด้วย เนื่องจากใช้ความถี่หลากหลาย กลุ่มนี้จึงมีความรู้ด้านสื่อสารมากๆๆๆด้วยครับ

ชนิดและข้อมูลเกี่ยวกับวิทยุสือสาร
1. ชนิดของวิทยุสื่อสาร ก่อนอื่นเลยท่านต้องเลือกเอาว่าต้องการวิทยุแบบมือถือ (Handy) หรือวิทยุในรถยนต์ (Mobile)์ ส่วนใหญ่แล้วนักวิทยุที่มีเครื่องวิทยุเครื่องแรกในชีวิตก็จะเลือกแบบมือถือครับ เพราะพกพาไปไหนก็ได้ ราคาก็ถูกกว่า เมื่อมีแบบมือถือเบื่อแล้วอยากมีสัญญาณแรงๆก็จะเปลี่ยนไปใช้แบบรถยนต์แทน เครื่องมือถือจะมีกำลังส่งหรือวัตต์ (Watt) ์สูงสุดที่ 5 วัตต์ ส่วนเครื่องในรถยนต์ก็จะมีกำลังส่งสูงสุดที่ 10 วัตต์ เครื่องในรถยนต์นั้นจริงๆเค้าออกแบบมาเพื่อใช้ในรถยนต์นะครับ (ชื่อมาก็บอกอยู่แล้ว) แต่ถ้าเราไม่ต้องการใช้ในรถยนต์ก็สามารถนำมาใช้ในบ้านได้ครับไม่ผิดกติกา
2. ราคา เมื่อท่านตัดสินใจจะเป็นเจ้าของเครื่องวิทยุสื่อสารแล้วคงจะต้องดูที่ราคาที่ท่านสามารถยอมรับได้ซะหน่อย การซื้อวิทยุช่วงที่ดีที่สุดคืองาน "HAM Sale" ครับ เพราะร้านที่จัดแสดงก็จะลดราคาเครื่องกันสนั่น แต่ช่วง 3-4 ปีนี้งาน Ham sale หายไปเลยครับ อาจจะต้องรอเศรษฐกิจดีขึ้นก่อนก็ได้ แต่บางครั้งก็พบงาน Ham sale ได้ตามที่มีการ Eye Ball ของนักวิทยุของต่างจังหวัดครับ แต่ก็มีบางร้านเค้าจัดเองก็มีครับ ก็ต้องติดตามข่าวสารกัน ถ้าร้านไหนมีจัดรายการพิเศษก็แจ้งข่าวประชาสัมพันธ์มาที่ Webmaster ได้ครับ
3. ยี่ห้อ เครื่องวิทยุสื่อสารที่กรมไปรษณีย์โทรเลขท่านอนุญาติให้ใช้ได้มีหลายยี่ห้อครับ ดูได้จากหน้า "เครื่องมือสื่อสาร" ของแต่ละความถี่จาก THHAM.COM ครับ ยี่ห้อหลักๆก็มี ICOM, YAESU, KENWOOD, STANDARD เป็นต้น ซึ่งยี่ห้อที่กล่าวมาจะเป็นยี่ห้อที่เค้าผลิตเครื่องมานานแล้ว ส่วนยี่ห้ออื่นก็อาจจะพึ่งผลิต หรือเป็นของประเทศอื่นไม่ใช้ของญี่ปุ่น ก็จะมีความนิยมน้อยลงไป แต่ราคาก็จะถูกลงไปด้วย
4. รุ่น อันนี้ก็ถือเป็นการตัดสินใจที่ยากมากเลยครับ เพราะเมื่อเราเลือกยี่ห้อได้แล้ว ในแต่ละยี่ห้อก็มีหลายรุ่นให้เลือกอีก ก็ขึ้นอยู่กับหน้าตา การออกแบบของเครื่องที่ถูกใจเราละครับ ถ้าเป็นรุ่นใหม่ก็จะมีในประกาศเช่นกันว่าอนุญาตให้ใช้รุ่นใด ส่วนรุ่นที่ไม่มีในประกาศเข้าใจว่าบริษัทผู้ผลิตได้เลิกการผลิตไปแล้ว แต่ก็สามารถหามือสองมาใช้ได้ครับ
5. อื่นๆ ส่วนอื่นๆก็มีเช่นการบริการหลังการขาย การซ่อมเครื่องโดยตัวแทน (Service Center) อะไหล่ของเครื่อง ราคาอะไหล่ ราคาอุปกรณ์เสริม เช่นแบตเตอรี่ ไมค์ แท่นชาร์ต เนื่องจากวิทยุสื่อสารจะไม่เหมือนโทรศัพท์มือถือซึ่งจะเปลี่ยนรุ่นใหม่ออกมาเร็วมาก และราคาจะลดลงรวดเร็ว แต่วิทยุสื่อสารบางยี่ห้อปล่อยว่างไว้เกือบ 4-5 ปีถึงจะออกรุ่นใหม่เพราะฉะนั้นเราจะต้องได้ใช้เครื่องอีกนาน บางทีก็ซ่อมแล้วซ่อมอีก เครื่องจะไม่ค่อยเชยเร็ว ก็ควรจะพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจซื้อนะครับ

เมื่อพอจะตัดสินใจในระดับหนึ่งแล้วว่ามียี่ห้อใดรุ่นใดที่เราชอบบ้าง โดยดูจากลักษณะภายนอก ลองจับถือดู หรือลองกดปุ่มเล่นก่อนก็ได้ ต่อไปเราก็มารู้จักวิธีการดู Specification หรือ สเป็ค ของเครื่องกัน
1.ความถี่ (Frequency) : ดูว่าเครื่องสามารถรับ และส่งในช่วงความถี่ที่เราจะต้องใช้งานได้หรือไม่ บางเครื่องไม่สามารถปรับความถี่ให้เล็กลง เช่น 12.5 kHz ซึ่งปัจจุบันความถี่ของนักวิทยุสมัครเล่นจะมีระยะห่างเท่านี้
2. กำลังส่ง (Output Power) : ควรจะดูว่าใช้แรงดัน (V) และกระแส (A) ที่เท่าใดจึงจะได้กำลังส่งสูงสุด ซึ่งเครื่องมือถือก็จะไม่เกิน 5 วัตต์ ส่วนเคลื่อนที่หรือประจำที่ก็ 10 วัตต์ ที่สำคัญคือมือถือครับ ว่าเราจะใช้แพ็คถ่านรุ่นใด จะได้กำลังส่งสูงสุด บางแพ็คจะให้กระแสสูงทำให้เราสามารถเปิดเครื่องใช้งานได้นาน แต่กำลังส่งไม่ถึง 5 วัตต์ อันนี้จะเหมาะกับผู้ที่ติดต่อกับศูนย์เป็นประจำ เพราะศูนย์ควบคุมจะใช้เสาสูงเราก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้กำลังส่งมาก แต่ถ้าเป็นนักวิทยุสมัครเล่นซึ่งติดต่อกันเองมากกว่าก็พิจารณาดูครับ
3. ความไวในการรับ (Sensitivity) : จะบอกเป็นค่าแรงดัน (V) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น uV ถ้าตัวเลขนี้ของรุ่นใดมีค่าน้อยกว่าแสดงว่ามีความไวในการรับดี กว่ารุ่นที่มีตัวเลขมาก แต่บางครั้งรุ่นที่มีความไวในการรับดีก็อาจจะไม่ดีเสมอไป เพราะจะรับสัญญาณรบกวนมาด้วย ยิ่งถ้าการกรองความถี่ที่ไม่ต้องการของเครื่องไม่ดีแล้วละก็ทำให้เกิดการรับสัญญาณรบกวนมากขึ้น
4. ขนาด : ขนาดความกว้าง, ยาว, สูง ลองเปรียบเทียบกันดู รวมถึงน้ำหนักด้วย

ส่วนที่เหลือก็สอบถามกับผู้ที่ใช้รุ่นนั้นๆดูนะ

รหัสวิทยุสื่อสาร ชมรมผู้เขียนบล็อก

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553












การท่องเที่ยวมีมากมายหลายแบบ อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกเที่ยวแบบไหน แบบสืบสานวัฒนธรรม หรือจะแบบพักผ่อนหย่อนใจอย่างทะเล ชมความงาม แต่มีการท่องเที่ยวแบบที่หลายคนชอบนั่นคือการเดินป่า หรือ Trekking หรือที่เรารู้จักแบบ แอดเวนเจอร์ (แบบผจญภัย) หลายคนค้นพบกับแหล่งธรรมชาติของป่าเขา การเดินป่า ไม่ได้หมายถึงการต้องไปลำบากหรือทรมานตัวเอง แต่เป็นการสัมผัสธรรมชาติที่เข้าถึงที่สุด เพราะคุณจะรู้จักกับมันด้วยตัวคุณเอง
ปัจจุบันมีหลายสถานที่มากมายในประเทศไทย ที่มีกิจกรรม ทัวร์เดินป่า หรือจะไปศึกษากันเอง แต่สำหรับวันนี้ถือกฤษ์เปิดตัวขอเป็นความหมายและการเตรียมตัวในการเดินป่า กันก่อน เพราะการเดินป่า ต้องใช้ความอดทนและความรู้พอสมควร

Trekking คือ การเดินท่องเที่ยว เข้าป่าเขาและพื้นที่ชนบทที่รถเข้าไม่ถึง Trekking มักจะใช้สำหรับการเดินทางที่ใช้เวลานานหลายๆ วัน มีการเดินขึ้นเขาและลงเขาในระยะทางที่ไกลๆ

คราวนี้ก็มาพิจารณาดูในเรื่องการเตรียมตัวเดินป่ากันหน่อยว่า จะต้องทำอะไร มีอะไรที่คุณควรจะพกพานำไปกันบ้างในเบื้องต้นคือ การสอบถามข้อมูลการเดินทางกับทางอุทยานแห่งชาติให้มากที่สุด ทั้งสภาพเส้นทาง สภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศ แล้ววางแผนเส้นทางและระยะเวลาที่ใช้เดินและจุดหมายของแต่ละวัน พร้อมทั้งนัดหมายกับทางอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ทางอุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเจ้าหน้าที่นำทางไว้ล่วงหน้า สิ่งที่ต้องเตรียมต่อไปคือ สภาพร่างกาย ผู้จะเดินป่าควรมีร่างการแข็งแรงสมบูรณ์ และจิตใจที่พร้อมจะฝ่าฟันอุปสรรค ที่อาจพบตลอดการเดินทาง



การเตรียมของใช้เดินป่า
การเตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับการเดินป่ามีหลายอย่าง ได้แก่
- เสื้อผ้า ควรเป็นเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่แห้งง่ายและสวมใส่สบายเตรียมไว้ประมาณ 3 ชุด ชุดหนึ่งใส่ช่วงกลางวัน ชุดหนึ่งสำหรับใส่นอน และชุดสุดท้ายสำหรับใส่เดินทางกลับ เสิ้อกันหนาวหรือ เสื้อกันฝนก็ควรเตรียมไปด้วยตามฤดูกาลและสภาพอากาศของพื้นที่นั้น
- รองเท้า ควรใช้รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ ไม่ควรมีพื้นแข็งหรืออ่อนจนเกินไป และมีขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป และไม่มีน้ำหนักมากเกินไป และควรสวมถุงเท้าเพื่อป้องกันรองเท้ากัด
- หมวก เพื่อใช้บังแดดและป้องกันหนามเกี่ยวศรีษะขณะเดินลอดกิ่งไม้
- เป้สัมภาระ ควรมีขนาดเหมาะสมกับลำตัวของเจ้าของและจำนวนสัมภาระ โดยปกติเป้เมื่อใส่สัมภาระแล้วไม่ควรมีน้ำหนักเกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักตัว หากเป้มีน้ำหนักมาก ควรใช้สายคาดเอวเพื่อถ่ายเทน้ำหนักส่วนหนึ่งจากที่บ่ามาให้ลำตัว บริเวณส่วนเอวช่วยรับน้ำหนักด้วย
- เต็นท์พักแรม ควรใช้ขนาดและจำนวนที่เหมาะสมกับจำนวนคน เปลสนามก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะเบาและกะทัดรัด แต่ที่ขาดไม่ได้คือ ผ้าพลาสติกสำหรับกางขึงเหนือเต็นท์ หรือเปลสนามเพื่อกันน้ำค้างและน้ำฝน
- อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไป เช่น ยาประจำตัว ถุงนอน ไฟฉาย มีดอเนกประสงค์ กระติกน้ำ ชุดเครื่องครัวสนาม ถุงขยะ ไฟแช็ก เชือกร่มยาว 2-3 ม. จำนวน 2-3 เส้น ฯลฯ
- เสบียง ควรเตรียมให้เกินไว้ประมาณ 2 มื้อ เผื่อเกิดเหตุให้ต้องอยู่ในป่านานกว่ากำหนด และควรเผื่อเสบียง สำหรับเจ้าหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติที่ช่วยนำทางไว้บ้าง อย่างน้อยก็เป็นน้ำใจที่แบ่งปันให้แก่กัน
- ที่เหลือเช่น เข็มทิศ GPS แผนที่ trekking pole เตาแกส ตะเกียงแกส ชุดครัว backpack สเปรป้องกันตัว เครื่องกรองน้ำพกพา ฯลฯ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ หลายพื้นที่นั้นไม่อนุญาตให้ก่อไฟแล้วนะครับ

บรรยากาศการเดินป่าสู่แก่งยาว